วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พันธะเคมี

พันธะเคมี


เป็นแรงยึดเหนี่ยวภายในและภายนอกระหว่างอะตอม โมเลกุลหรือไอออน พันธะเคมีเกิดจากอิเล็กตรอนของอะตอมนั้นมีอิเล็กตรอนครบ 8 ตัวซึ่งเป็นไปตามกฏ ทำให้ธาตุนั้นเสถียร ด้วยวิธีการต่าง ๆ
1. ให้อิเล็กตรอนกับอะตอม
2. รับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น
3. ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันกับอะตอมอื่น คือ พันธะโควาเลนต์ พันธะไอออนิก และพันธะโลหะ

พันธะไอออนิค (พันธะไอออน) เกิดจากที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมสร้างพันธะกันโดยที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ทำให้กลายเป็นประจุบวก ในขณะที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนนั้นกลายเป็นประจุลบ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีประจุตรงกันข้ามกันจะดึงดูดกัน ทำให้เกิดพันธะไอออน โดยทั่วไปพันธะชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะโดยอะตอมที่ให้อิเล็กตรอนมักเป็นโลหะทำให้โลหะนั้นมีประจุบวก และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมักเป็นอโลหะจึงมีประจุลบ ไอออนที่พันธะไอออนมีความแข็งแรงมากกว่าพันธะไฮโดรเจน แต่แข็งแรงพอ ๆ กับพันธะโคเวเลนต์


การจัดเรียงอิเล็กตรอนของ ลิเทียมและ ฟลูออรีน ลิเทียมมีอิเล็กตรอน 1 ตัวในวงโคจรชั้นนอกสุดของมันซึ่งอยู่อย่างหลวมๆ เพราะว่า พลังงานไอออไนเซชันต่ำ ฟลูออรีนมีอิเล็กตรอน 7 ตัวในวงโคจรชั้นนอกสุด เมื่ออิเล็กตรอน 1 ตัว เคลื่อนที่จากลิเทียมไปยังฟลูออรีน แต่ละ ไอออนจะจัดเรียงตัวกันแบบ ก๊าซมีตระกูลพลังงานพันธะจาก แรงดึงดูดไฟฟ้าสถิตของสองประจุไออนที่ตรงข้ามกันมีค่าเป็นลบมากพอ เนื่องจากการที่พลังงานในสถานะที่เป็นพันธะโดยรวมต่ำกว่าสถานะที่ไม่เป็นพันธะ

พันธะโควาเลนต์ คือพันธะเคมี(chemical bond) ภายในโมเลกุลชนิดหนึ่ง พันธะโควาเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้วาเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโควาเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดของตัวเองให้เต็ม ดังนั้นอะตอมที่สร้างพันธะโควาเลนต์จึงมักมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโควาเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอๆ กับพันธะไอออนิก


ในโมเลกุลของมีเทนอะตอมของธาตุไฮโดรเจนสี่อะตอมสร้างพันธะโควาเลนต์กับอะตอมของธาตุคาร์บอน

พันธะโลหะ (Metallic bonding) เป็นพันธะภายในโลหะซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนย้าย อิเล็กตรอนอิสระระหว่างแลตทิซของอะตอมโลหะ ดังนั้นพันธะโลหะจึงอาจเปรียบได้กับเกลือที่หลอมเหลว อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนพิเศษเฉพาะในวงโคจรชั้นนอกของมันเทียบกับคาบ (period) หรือระดับพลังงานของพวกมัน อิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายเหล่านี้เปรียบได้กับทะเลอิเล็กตรอน(Sea of Electrons) ล้อมรอบแลตทิชขนาดใหญ่ของไอออนบวก
พันธะโลหะเทียบได้กับพันธะโควาเลนต์ที่เป็น นอน-โพลาร์ ที่จะไม่มีในธาตุโลหะบริสุทธ์ซึ่งมีส่วนในปฏิกิริยาพันธะ และอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาจะเคลื่อนย้ายข้ามระหว่างโครงสร้างผลึกของโลหะ พันธะโลหะเขียนสูตรทางเคมีไม่ได้ เพราะไม่ทราบจำนวนอะตอมที่แท้จริง อาจจะมีเป็นล้านๆ อะตอมก็ได้ พันธะโลหะจะมีความสำคัญต่อคุณสมบัติทางฟิสิกส์หลายอย่างของโลหะเช่น
ความแข็งแรง
ตีแผ่เป็นแผ่นได้(malleability)
ดึงเป็นเส้นได้ (ductility)
นำความร้อนไดดี
นำไฟฟ้าได้ดีและนำได้ทุกทิศทาง
เนื้อเป็นเงา (luster)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น